ปัญหาในเด็กนอนกรน

เด็กที่นอนกรนตั้งแต่ 3 คืนต่อสัปดาห์ขึ้นไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่มีความผิดปกติบางอย่าง เช่น เลี้ยงไม่โต มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม การเรียนแย่ลง ปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือไม่เพื่อทำการรักษานอนกรนต่อไป โดยในเบื้องต้นเด็กที่นอนกรนควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ มลภาวะ และสารกระตุ้นภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการ แน่นจมูก และทำให้อาการแย่ลง สำหรับรายที่มีน้ำหนักมากควรลดความอ้วน และ ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ ส่วนต้นควรให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีวิธีการรักษานอนกรนในเด็กที่มีปัญหานี้ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้หลายวิธี

1. การรักษาโดยการผ่าตัดการผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์
2. การรักษาโดยการใช้ยา เช่น ยาพ่นจมูกกลุ่มสเตียรอยด์
3. การรักษาโดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง
4. การรักษาโดยวิธีอื่นๆ